คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยสังกัดอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน[1][2][3][4]คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย[5] มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์และสหศาสตร์[5] เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 21 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน[6] โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นบุคคลคนเดียวกัน[7] นอกจากนี้คณาจารย์ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกด้วย[8]ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาากาชาดไทย เป็นพื้นที่ใจกลางเขตธุรกิจ การเงินและการทูตของประเทศไทย ด้านทิศตะวันตกติดกับถนนอังรีดูนังต์ ทิศใต้ติดกับถนนพระรามที่ 4 ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนราชดำริและสวนลุมพินี ทิศเหนือติดกับราชกรีฑาสโมสร หรือ สนามม้าปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานครและรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์ www.md.chula.ac.th
อักษรย่อ พ.
วันก่อตั้ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 - ในนาม "คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"
25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - โอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
สัญลักษณ์ ชื่อคณะบนพื้นวงกลมสีทองหรือสีเขียวล้อมพระเกี้ยว
สถานปฏิบัติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ เลขที่ 1873 ถนนพระรามที่ 4
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
วารสาร จุฬาลงกรณ์เวชสาร
คณบดี ศ. นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ
ชื่ออังกฤษ Faculty of Medicine,
Chulalongkorn University
สีประจำคณะ      สีเขียวใบไม้

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771520 http://www.chulasurgery.com/ http://www.cu-obgyn.com/ http://maps.google.com/maps?ll=13.733237,100.53679... http://www.mdcualumni.com/th/kingRama8.php http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7332... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaicraniofacial.com/ http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-1... http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-5...